Digital Financial Service เทรนด์ใหม่ ที่ไม่ใช่เเค่ทางเลือก

โดย Pay Solutions


หากสังเกตการทำธุรกรรมปัจจุบัน ธุรกิจต่างๆ เริ่มมีการปรับตัวให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าเล็ก ๆ ริมทางที่รับเงินผ่านการสแกน QR Code และใกล้เข้าสู่คำว่า ‘สังคมไร้เงินสด’ การบริการทางการเงินในรูปแบบดิจิทัลเหล่านี้จึงเริ่มมีการแข่งขัน พัฒนาปรับตัวเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น และเกิดเป็นบริการทางการเงินที่เรียกว่า “Digital Financial Service”

Digital Financial Service (DFS) คืออะไร?


Digital Financial Service คือ การให้บริการเทคโนโลยีทางการเงิน เช่น การชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์หรือใช้งานได้ด้วยอินเทอร์เน็ต โดยปัจจัยตัวกระตุ้นที่สำคัญคือการปรับตัวจากการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ทำให้การทำธุรกรรมออนไลน์ เป็นช่องทางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด หากมองในแง่ของหน่วยงานรัฐบาลที่ผ่านมาเริ่มมีการใช้เครื่องมือนี้ในการกระจายรายได้ และให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส และเพื่อให้เข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ผู้ให้บริการทางการเงินจำเป็นต้องเริ่มปรับเปลี่ยนแนวคิด พฤติกรรม เเละรูปเเบบการดำเนินงาน เพื่อต่อยอดในการนำเสนอประสบการณ์ทางการเงินที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลให้แก่ผู้บริโภคมากขึ้น และพร้อมตอบสนองธุรกิจต่าง ๆ ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ

ผู้ให้บริการทางการเงิน ไม่ได้มีเพียงสถาบันการเงิน


ผู้ให้บริการทางการเงินปัจจุบันไม่ได้มีเพียงสถาบันการเงินที่เป็นธนาคารเท่านั้น แต่มีผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน หรือเรียกว่า Non-bank เป็นบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้กำกับดูแล เช่น กลุ่มบริษัทที่บริการรับชำระเงิน, บริการกู้เงินทางออนไลน์, บริการประกันออนไลน์, บริการดูแลความมั่งคั่ง ดูแลสินทรัพย์ออนไลน์ ทั้งยังมีบทบาทสำคัญกับตัวธุรกิจหลากหลายในสายงานบริการด้วยกัน เช่น ผู้ให้บริการจัดส่งอาหาร หรือ Food delivery และแอปพลิเคชั่นอีกหลายเจ้าที่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech)

FinTech คืออะไร ทำไมจึงสำคัญ


อุตสาหกรรมการเงินนั้นเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของทุกคนธนาคารและสถาบันการเงินเหล่านี้จำเป็นต้องพัฒนา Financial Technology (Fintech) หรือเทคโนโลยีทางการเงินขึ้น เช่น การโอนเงินผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์ ระบบอินเทอร์เน็ตแบงค์กิ้ง การสร้าง QR Code เพื่อสแกนจ่ายเงินได้ข้ามธนาคารโดยไม่เสียค่าธรรมเนียมการรับชำระและจ่ายผ่านบัตรเครดิต โดยเทคโนโลยีเหล่านี้มีผู้ให้บริการรูปแบบ Non-bank เป็นตัวกลางรวบรวมช่องทางเหล่านี้ไว้จุดเดียวกันเพื่อความสะดวกมากยิ่งขึ้นในการใช้งาน เป็นผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นโดยตรงให้กับผู้บริโภคได้มีทางเลือกในการใช้บริการมากกว่าเดิมที่ทำผ่านสถาบันการเงินโดยตรง ต้องใช้เอกสารข้อมูล หรือแม้แต่ข้อตกลงต่าง ๆ ที่หากไม่ใช่องค์กรขนาดใหญ่ บุคคลธรรมดามีโอกาสน้อยมากที่สามารถใช้บริการได้

บทบาทสำคัญของผู้ให้บริการ DFS


เมื่อมีกิจกรรมเคลื่อนไหวในรูปแบบออนไลน์มากขึ้น ธุรกิจการให้บริการทางการเงินผ่านทางออนไลน์ มีบทบาทสำคัญ ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่ส่งผลถึงการทำธุรกรรมทั่วโลก สถาบันการเงินต่าง ๆ เริ่มมีการแข่งขันกันมากขึ้น และคุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ได้วิเคราะห์ไว้เกี่ยวกับ 12 เทรนด์อีคอมเมิร์ซไทย ในปี 2566 ว่า “Digital Financial Services (DFS) คือ บริการด้านการเงินผ่านทางออนไลน์ ผู้ให้บริการเหล่านี้จะเป็นผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-bank) เหล่านี้เริ่มมีการเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการผลักดันให้ e-Commerce ของประเทศไทยเติบโตมากขึ้นเช่นกัน”

เมื่อมีผู้ให้บริการ DFS เข้ามา ตัวอย่างเช่น Pay Solutions ที่เป็นผู้ให้บริการช่องทางรับชำระเงินครบวงจร ที่ออกแบบมารองรับกับธุรกิจออนไลน์ระหว่างธุรกิจกับผู้บริโภค (ฺB2C หรือ Business-to-Customer) ทำให้ธุรกิจมีโอกาสรับเงินจากลูกค้าได้มากกว่าการโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารโดยตรงเพียงช่องทางเดียว และผู้บริโภคเองก็สามารถเลือกชำระเงินผ่านช่องทางที่ต้องการได้ เช่น จ่ายด้วยบัตรเครดิต หรือผ่อนจ่าย ก็สามารถทำได้อย่างสะดวก รวมไปถึงร้านค้าสามารถออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้าได้ ถือเป็นเพิ่มความสะดวกทั้งผู้ขายเเละผู้ซื้อ

นอกจากการให้บริการแบบ B2C ผู้ให้บริการด้าน FinTech เอง ก็มีการให้บริการที่แตกต่างและพัฒนามาในรูปแบบ B2B (ฺBusiness-to-Business) ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคระหว่างธุรกิจหรือคู่ค้าให้มีการทำธุรกรรมที่สะดวกขึ้น เช่น บริการ paysoon ที่เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเงินทุนหมุนเวียนให้กับเจ้าของธุรกิจ โดยการดึงวงเงินจากบัตรเครดิตมาเสริมสภาพคล่องทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นในการเก็บเงินหรือการจ่ายเงิน รวมทั้งผู้ขายก็ได้ประโยชน์จากการลดภาระการให้เครดิตเทอม และการวางบิลเอกสารต่าง ๆ จากกระดาษให้เป็นในรูปแบบออนไลน์แทนอย่างถูกกฎหมาย

ธุรกิจ DFS ยังคงมาแรงต่อเนื่อง


ปี 2566 นี้ มีแนวโน้มว่าธุรกิจการให้บริการ DFS ยังคงมาแรงต่อเนื่อง เนื่องจากการปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจยุคดิจิทัล จึงจำเป็นต้องมีการใช้บริการระบบรับชำระเงินที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้า และบริการรูปแบบใดก็ตาม หรือแม้แต่แพลตฟอร์มใหญ่ ๆ ที่ไม่เคยให้บริการทางการเงินโดยตรงเอง เช่น Food Delivery หรือ e-Marketplace ที่แต่เดิมให้บริการเป็นตัวกลางในการซื้อ - ขายสินค้า ยังหันมาเพิ่มบริการใหม่ ซื้อก่อนจ่ายที่หลัง (ฺBuy Now Pay Later) คล้าย ๆ การให้เครดิต หรือกู้ใช้จ่ายทางอ้อมเพื่อบริการลูกค้าภายในแพลตฟอร์มของตนมากขึ้น

และล่าสุดเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2566 ทางธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกกฎเกณฑ์ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank) ขึ้นมา โดยคาดว่าสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2568 ยิ่งเป็นการตอกย้ำว่าอนาคตเศรษฐกิจดิจิทัล โดยเฉพาะบริษัทด้านการเงินเองจะมีการการเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่แน่ว่าในอนาคตอาจมีการพัฒนาบริการรูปแบบใหม่ ที่ผู้บริโภคทั่วไปเข้าถึงยากและนึกไม่ถึง ให้ทุกคนใช้งานง่ายขึ้นโดยไม่ต้องผ่านสถาบันการเงินด้วยตนเอง และแน่นอนว่าการแข่งขันระหว่างผู้ให้บริการเองย่อมสูงขึ้นเช่นกัน

ติดตามข่าวสารเเละกิจกรรมอื่นๆ ได้ที่


www.facebook.com/paysolutionsdotasia