4 เช็คลิสต์ เลือก Payment Gateway ยังไงให้ยอดขายปัง

โดย Pay Solutions


การเปิดธุรกิจออนไลน์ในปัจจุบันสามารถเริ่มต้นได้ง่าย เพราะมีเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวก ให้เลือกใช้เหมาะสมกับธุรกิจมากขึ้น ทั้งในรูปแบบเว็บไซต์ร้านค้าสำเร็จรูป เว็บมาร์เก็ตเพลส หรือแม้แต่การเปิดขายของออนไลน์ผ่านโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เช่น ผ่าน Facebook, Instagram, Tiktok Live และสิ่งที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจขายของออนไลน์ คือ ช่องทางการรับชำระเงินที่สามารถตอบสนองทั้งไลฟ์สไตล์การจ่ายเงินของลูกค้า และเพิ่มความสะดวกให้เจ้าของร้านค้าเอง


Payment Gateway คืออะไร?


Payment Gateway คือ ช่องทางชำระเงินออนไลน์ นอกเหนือจากการโอนเงินชำระค่าสินค้าและบริการ ผ่านเข้าบัญชีธนาคารของผู้ขายโดยตรง เช่น การทำรายการจ่ายชำระค่าสินค้า ผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต รวมถึงการเปิดผ่อนชำระผ่านบัตรเครดิต และการออกบิลสำหรับจ่าย ณ เคาน์เตอร์บริการ ที่จำเป็นต้องใช้บริการอื่นเพิ่มเติม เพื่อความสะดวกในการเรียกเก็บเงิน

โดยระบบรับชำระเงินออนไลน์ แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่
   1. การเชื่อมต่อระบบรับชำระเงินกับธนาคารโดยตรงข้อได้เปรียบ คือมีค่าธรรมเนียมการให้บริการที่ต่ำกว่า แต่มีเงื่อนไขการให้บริการค่อนข้างซับซ้อนของเอกสารที่เตรียมเปิดใช้บริการ เงินค้ำประกัน และกำหนดยอดรวมการทำรายการ เหมาะสำหรับธุรกิจประเภทบริษัทขนาดใหญ่
   2. การเชื่อมต่อระบบรับชำระเงินผ่านผู้ให้บริการที่ได้รับใบอนุญาต เช่น Pay Solutions ที่มีข้อได้เปรียบกว่าการเชื่อมต่อผ่านระบบธนาคารเอง คือการสมัครใช้งานง่าย ไม่ต้องมีเงินฝากค้ำประกัน และรวมระบบการชำระเงินไว้หลากหลายช่องทาง เหมาะสำหรับร้านค้าออนไลน์ สตาร์ทอัป SMEs ไปถึงองค์กรขนาดใหญ่

Payment Gateway จำเป็นหรือไม่?


การใช้บริการ Payment Gateway มีความจำเป็นหรือไม่ ให้ลองพิจารณาว่า หากร้านค้ามีช่องทางการชำระเงินที่หลากหลาย ตรงกับความต้องการของลูกค้า จะสามารถเพิ่มโอกาสในการปิดการขายได้มากขึ้นหรือไม่? ในกรณีที่มีการขายสินค้าบางรายการมูลค่าค่อนข้างสูง และลูกค้ายังไม่สามารถจ่ายเป็นเงินสดทันที แต่มีบัตรเครดิตอยู่ในมือที่สามารถจ่ายก่อนได้ หากร้านค้าไม่มีตัวเลือกรับชำระเงินผ่านบัตรเครดิตออนไลน์ได้ อาจพลาดโอกาสทางการขายไปอย่างน่าเสียดาย

ระบบรับชำระเงินออนไลน์ เป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ของร้านค้าออนไลน์ ทั้งธุรกิจขนาดเล็ก ไปถึงระดับองค์กรขนาดใหญ่ เพราะมีส่วนช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าได้ง่ายและเร็วขึ้นกว่าเดิม เพราะกลุ่มนักช็อปออนไลน์ มักเลือกซื้อสินค้ากับร้านที่มีบริการรับชำระเงินผ่านบัตรเครดิตได้ เพราะสร้างความเชื่อมั่นได้ว่าปลอดภัย ยังไม่ต้องจ่ายเงินสด มีความน่าเชื่อถือ และได้ประโยชน์ในการสะสมแต้มบัตรเครดิต ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุผลสำคัญของการตัดสินใจซื้อ

เลือกผู้ให้บริการ Payment Gateway อย่างไร?


4 เช็คลิสต์ ในการตัดสินใจเลือกใช้บริการรับชำระเงินออนไลน์

   1. ตรวจสอบใบอนุญาตของผู้ให้บริการ
   ธุรกิจเกี่ยวกับบริการการรับชำระเงิน ควรได้รับใบอนุญาตและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยท่านสามารถสามารถสืบค้นจากชื่อบริษัทผู้ให้บริการได้ ผ่านระบบตรวจค้นข้อมูลผ่านเว็บไซต์ https://www.bot.or.th/app/BotLicenseCheck เพื่อตรวจสอบสถานะของบริษัทว่ายังคงสถานะการได้รับอนุญาตดำเนินธุรกิจหรือไม่
   2. ระบบรับชำระเงินมีมาตรฐานความปลอดภัย
   โดยปกติแล้ว ผู้ให้บริการรับชำระเงินจะเปิดเผยข้อมูลส่วนนี้ เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้ใช้บริการว่าผ่านมาตรฐานระดับใด ช่วยให้ผู้ใช้บริการตัดสินใจได้ตามหลักการเบื้องต้น และเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้บริการหากเกิดปัญหา บริษัทผู้ให้บริการควรอยู่ภายใต้การกำกับดูแลจากธนาคารแห่งประเทศไทย และควรได้รับการรับรองมาตรฐาน เช่น PCI DSS มีระบบความปลอดภัยเว็บไซต์ SSL หากมีระบบรับชำระผ่านบัตรเครดิต ควรได้รับการอนุมัติให้บริการระดับสากล เช่น Verified by VISA และ MasterCard SecureCode เป็นต้น
   3. ระบบชำระเงินที่รองรับช่องทางหลากหลาย
   บริการ Payment Gateway ที่เลือกใช้ควรรองรับการชำระเงินได้หลายรูปแบบ เช่นการรับชำระผ่านบัตรเครดิต/บัตรเดบิต การสแกนจ่ายผ่าน QR Code การทำระบบผ่อนจ่ายได้ e-Wallet รวมทั้งการจ่ายเงินผ่านบิลที่เคาน์เตอร์ และมองหาระบบรับชำระเงินที่สามารถเชื่อมต่อสำหรับเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่น (e-Payment) ได้ หากธุรกิจที่ยังไม่มีเริ่มทำเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ หรือมีการขายสินค้า/บริการผ่านโซเชียลมีเดีย ควรหาผู้ให้บริการที่มีระบบลิงก์รับชำระเงิน (Payment Link) เพื่อการแชท-ขาย-จ่าย ปิดการขายได้ง่ายขึ้น
   4. มีระบบรายงานการซื้อ-ขาย (Dashboard Control)
   การทำธุรกิจ เมื่อมีการซื้อ-ขายเกิดขึ้น การใช้ระบบควบคุมหลังบ้านจะช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ขาย หรือร้านค้า สามารถจัดการรายการสั่งซื้อ หรือตรวจสอบรายละเอียดธุรกรรมได้ง่าย และถูกต้อง โดยไม่จำเป็นต้องเช็คสลิปด้วยตนเองผ่านธนาคาร ช่วยลดความผิดพลาดในการตรวจสอบข้อมูล รวมทั้งการจัดการส่วนอื่น ๆ เช่น การสร้างรายการรับชำระเงินจากลูกค้า การทำรายการอนุมัติคืนเงินเมื่อลูกค้าต้องการยกเลิกการสั่งซื้อ การดึงรายงานการขาย และการ ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ ถือเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม และที่สำคัญควรตรวจสอบธุรกรรมจากระบบได้เเบบเรียลไทม์ 24 ช.ม.

ทั้ง 4 เช็คลิสต์ ในการเลือกระบบรับชำระเงินออนไลน์ เป็นเพียงตัวช่วยการตัดสินใจเบื้องต้น หากคุณทำธุรกิจออนไลน์ ขายของออนไลน์ผ่านโซเชียล หรือสนใจเชื่อมต่อระบบชำระเงินทางออนไลน์ให้รับเงินได้หลายช่องทาง สามารถปรึกษาและสมัครใช้บริการได้ฟรีกับ Pay Solutions และหากคุณสนใจเว็บไซต์สำเร็จรูป ระบบจัดการร้านค้า e-Commerce ที่เชื่อมต่อการชำระเงินออนไลน์ไว้แล้ว สามารถใช้บริการได้ผ่าน เเพลทฟอร์ม U-Commerce จาก TARAD.com

ติดต่อสอบถาม


LINE ID: @paysolutions
โทร. 02-821-6163